วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาไทยกับความคิดสร้างสรรค์


ภาษาไทยกับความคิดสร้างสรรค์  

ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
1.      เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น..ความคิดสร้างสรรค์จะสูงขึ้น
2.      ระดับอนุบาลระดับความคิดสร้างสรรค์จะสูงขึ้น
3.      ระดับ ป. 1  ระดับความคิดสร้างสรรค์จะลดลง  และจะดีขึ้นในชั้นป.2  และพัฒนาไปจนถึงชั้น ป.4
4.      ชั้น ป. 5- 6  ระดับความคิดสร้างสรรค์คงที่
5.      ชั้น ม.1  ระดับความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาขึ้น  จะลดระดับลงในชั้น ม.3
6.      ชั้น ม.4 ระดับความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
7.      ชั้น ม.4 – 6 ต้องการใช้จินตนาการเต็มที่ จะมีจินตนาการของตนเองในด้านบวก  มีความทะเยอทะยาน  มีอารมณ์มั่นคงพอที่จะกำหนดทัศนคติของตน


ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.      อยากรู้ อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ
2.      ชอบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
3.      ชอบซักถาม  และมีคำถามแปลก ๆ
4.      ช่างสงสัย  รู้สึกแปลกประหลาดในสิ่งที่พบเห็นเสมอ
5.      ช่างสังเกตมองเห็นลักษณะที่แปลก ผิดปกติ  หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและเร็ว
6.      ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด  สงสัยสิ่งใดจะถามหรือเสาะแสวงหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7.      มีอารมณ์ขัน  มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก และสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8.      มีสมาธิดีในสิ่งที่สนใจ
9.      สนุกสนานกับการใช้ความคิด
10.    สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
11.    มีความคิดเป็นของตัวเอง
 

คุณสมบัติของครูที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.         ไม่พอใจในวิธีสอนธรรมดา  หรือ ซ้ำๆ
2.         เป็นแหล่งเรียนรู้และความรอบรู้ มีจิตใจกว้าง ไม่ขลาดกลัวที่จะเผชิญ และยอมรับความจริง
3.         มีความสนใจนักเรียนอย่างจริงจัง ชอบสอนและทำงานร่วมกับเด็ก
4.         มีความสนใจในความรู้รอบด้าน ไม่ชอบทำอะไรซ้ำๆ
5.         อารมณ์ขัน
6.         สุขภาพอนามัยดี  ทั้งกายและใจ
7.         รสนิยมดี  แต่งกายประณีต  สวยงามเหมาะสมกับวัยและเหมาะสมกับโอกาส  สถานที่  มีบุคลิกภาพที่ดี มารยาทดี มีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดีทั้งการพูดและการเขียน  พูดจาชัดเจน คล่องแคล่ว  เข้าใจธรรมชาติ
             ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สามารถฝึกได้   แต่ต้องใจเย็น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/171522

วรรณคดีไทย



วรรณคดีไทย

มหาชาติคำหลวง หรือ มหาเวสสันดรชาดก
เดิมเป็นภาษามคธหนึ่งพันคาถา แปลเป็นไทยมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นหลักของหนังสือไทยเรื่องหนึ่ง สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฎบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ทั้ง ๑๐ อย่าง ยาว ๑๓ กัณฑ์ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิตในกรุงศรีอยุธยา ร่วมกันแปลแต่งมหาชาติขึ้นโดยวิธีตั้งสลับภาษามคธบาทหนึ่ง แปลเป็นไทยวรรคหนึ่ง เป็นฉันท์บ้าง โคลงบ้าง เพื่อความไพเราะและใกล้เคียงภาษาเดิม จึงเป็นหนังสือซึ่งนับถือว่า แต่งดีมาแต่ครั้งกรุงเก่า

ลิลิตพระลอ
พระลอเป็นนิยายถิ่นไทยทางภาคเหนือ มีเค้าโครงเรื่องว่าเกิดในแคว้นลานนา แต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดลิลิต (ใช้โคลงและร่ายคละกันไป) มีข้อความกระทัดรัด ไพเราะ รักษาข้อบังคับ ฉันทลักษณ์เคร่งครัด วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต ทั้งเนื้อเรื่อง กระบวนร้อยกรอง และภาษาที่ใช้ เป็นครูด้านแบบฉบับของลิลิตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา เป็นวรรณคดีบริสุทธิ์ตรงที่ว่า ได้พรรณนาความรักทุกประเภทอันมนุษย์จะพึงมีไว้

สังข์ทอง
เป็นนิทานในคัมภีร์ปัญญาสชาดกเรียก สุวัณณสังขชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงพระราชทานนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง คงได้เลือกบทละครครั้งกรุงเก่ามาเป็นโครง เพราะมีกลอนเดิมหลายแห่งที่ทรงโปรด จนเอามาใช้ในพระราชนิพนธ์ ซึ่งกลอนเดิมน ี้คงจะเป็นของนับถือ และนิยมกันว่าแต่งเป็นอย่างดี ในครั้งกรุงศรีอยุธยาด้วย

กากี
มีเค้าจากเรื่องกากาติชาดกในนิบาตชาดก บทมโหรีมีเนื้อร้องเหมือนกับที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (กุ้ง) นิพนธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแบบ "กาพย์ห่อโคลง" ส่วนในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งเป็นคำกลอนเพื่อใช้เป็นบทร้องส่งมโหรี ได้แต่งเรื่องนี้ในแผ่นดิน ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทกลอนในเรื่องอันเป็นสำนวนที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเยี่ยมในด้านการแต่งบทร้อง เนื้อความมีหลายรส สามารถชักจูงใจผู้ฟัง มีทั้งหมด ๘๐ คำกลอน แต่งไปจบเพียงตอนนางกากีถูกลอยแพ

มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
เป็นนิทานชาดก ในตำรามหาวัสดุของอินเดียโบราณฝ่ายมหายาน เรื่องสุธนชาดก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระสุธนคำฉันท์ ส่วนบทละครเรื่องมโนห์รา เห็นได้ว่าไม่เป็นกลอนแปดแท้ เช่นบทละครสามัญแต่ปนกาพย์ ทำนองกลอ นเป็นอย่างที่ละครมโนห์ราใช้กันอยู่ทางปักษ์ใต้ สันนิษฐานว่าบทละครมโนห์ราเป็นบทละครชิ้นแรกในกรุงเก่า

พระอภัยมณี
พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง หรือสุนทรภู่ แต่งเป็นประเภทกลอนแปด เป็นภาษาเขียนในบทกวีที่อ่านแล้วสนุก มีคติเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะต่อเนื้อหาของเรื่อง เป็นนักกวีที่เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์และภาษาศาสตร์ ใช้ถ้อยคำและสำนวน โวหารได้ฉับพลัน องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องเกียรติคุณ ในฐานะบุคคลดีเด่นของโลกในสาขาวัฒนธรรม

เงาะป่า
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทละครที่นับเป็นการริเริ่มในด้านวรรณคดีอีกแนวหนึ่ง เรื่องและฉากเหตุการณ์แปลกออกไป เป็นบทละครรูปแบบไทยโบราณ เค้าโครงเป็นโศกนาฏกรรม แสดงขนบธรรมเนียม ชีวิตการต่อสู้ การทำมาหากิน และแทรกภาษาขอ ง "เงาะ" ไว้ด้วยสำนวนกลอนไพเราะ บทพรรณนางดงาม มีคติชีวิตคมคาย

มัทนะพาธา หรือ ตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นหนังสือแต่งดีเพราะทรงพระราชดำริใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ซึ่งเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยากในทางภาษา ทรงคิดเค้าโครงเรื่องด้ วยพระองค์เอง จึงนับว่าเป็นจินตนิยาย

สาวิตรี
พระราชนิพนธ์บทละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องมีในคัมภีร์มหาภารต อันเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องหนึ่งของอินเดีย (คู่กับคัมภีร์รามายณ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์) เป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรัก และความภักดีอั นยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี ได้ทรงพระราชนิพนธ์โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ

สกุนตลา
เป็นเรื่องเกร็ดอันหนึ่งในมหาภารตเรียกว่า ศกุต์โลปาข์ยาณ ถูกแปลไปหลายภาษา การแปลแต่งเป็นไทยนี้ เพื่อให้เหมาะแก่การที่จะเล่นเป็นบทละครรำสำนวนหนึ่ง และบทละครร้องหรือบทละครดึกดำบรรพ์อีกสำนวนหนึ่ง โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของเซอร์วิลเลี่ยม โ ยนส์ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้ นับเป็นช่วงระยะเวลาที่ภาษาเขียนได้เจริญสูงสุด ปรากฎบทพระราชนิพนธ์ในพระองค์มากกว่า ๒๐๐ เรื่อง

กนกนคร
นิทานในหนังสือสันสกฤตชื่อ กถาสริตสาครเรื่องเมืองทอง พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงนิพนธ์เป็นนิทานคำกลอนประเภทกลอนหกล้วนๆ สร้างระเบียบบังคับกลอนแนวใหม่ ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นทั้งด้านสำนวนโวหาร ถ้อยคำ ใช้คำง่ายๆ แต่มีข้อความไพเราะ เนื้อเรื ่องให้ความเพลิดเพลิน ให้ความรู้ศัพท์แปลก ๆ สูง ๆ ถ้อยคำที่นำมาใช้อย่างตั้งใจว่า ต้องเป็นคำที่ได้น้ำหนักกันอย่างดี มีความหมาย ทรงพระนิพนธ์จบลงโดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวว่าแปลจากสมุดสันสกฤต ชื่อ ตริวิกรมาโธคาศรีระ

กามนิต - วาสิฎฐี
เป็นนิยายอิงศาสนาพุทธทางลัทธิมหายาน ดำเนินเรื่องอาศัยพุทธประวัติ และหลักธรรม ตลอดจนเรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เป็นโครง แทรกลัทธิศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีอินเดีย แต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก เสฐียรโกเศศและนาคะประทีปแปลแต่งเป็นหนังสือนวนิยาย ร้อยแก้ว มีสำนวนโวหารไพเราะ จังหวะลีลาในการประพันธ์เหมาะสมแก่เหตุการณ์ และบรรยากาศของเรื่อง
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://pioneer.netserv.chula.ac.th/~boonnart/literat.html

การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ... ทำได้อย่างไร


การฟังอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน  แต่ในที่นี้ผมจะยกตัวอย่างการฟังที่ดีมาลงในบันทึกนี้แล้วกัน...  ซึ่งที่ผมจะยกมาให้นี้เป็น  Geoff  Nightingale  แห่ง  SynerGenics  หรือกฏแห่งการฟัง  12  ข้อ ซึ่งมีสิ่งน่าสนใจมากดังนี้ครับ
ข้อที่หนึ่ง...  ฟังแล้วจับไอเดียที่ผู้พูด  พูดออกมาให้ได้  อย่าไปสนใจกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ  ที่ฟัง  และใช้สมองสรุปคำพูดออกมาให้ได้ว่าเขาพูดเรื่องอะไร...
ข้อที่สอง...  เวลาฟังการพูดให้สนใจที่เนื้อหาของเรื่องที่พูด  ไม่ใช่สนใจแต่วิธีการนำเสนอของผู้พูดเพียงอย่างเดียว  เพราะสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งเสริมของผู้พูดที่จะแสดงออกมาให้ผู้ฟังเข้าใจ  เราควรจะคิดว่าเขาพูดอะไรมากกว่า  มากกว่าที่จะไปดูว่าเขาพูดอย่างไร...
ข้อที่สาม...  ฟังอย่างตั้งใจ  ฟังอย่างคนที่มองโลกในแง่ดีเสมอ  อย่าหยุดฟังเมื่อความเห็นของเราไม่ตรงกับกับผู้พูด  หรืออย่ารีบที่จะหมดความสนใจให้เร็วไปนัก  เพราะถ้าเราเลิกสนใจเมื่อไร  ก็ยากที่เราจะกลับมาฟังอย่างตั้งใจอีกครั้ง...
ข้อที่สี่...  อย่าด่วนสรุปในตนเอง  อย่าสรุปด้วยตนเองว่าเรารู้แล้ว  เราเข้าใจแล้ว  ไม่จำเป็นต้องฟังอีกต่อไป  เพราะสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วนั้น  บางทีคุณอาจตกหล่นรายละเอียดอะไรไปบางอย่างก็ได้  และไม่ดีแน่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญซะด้วยสิ...
ข้อที่ห้า...  เมื่อฟังแล้วคุณไม่สามารถจำในสิ่งที่ฟังมาได้  ก็ควรหาวิธีจำนั่นก็คือการ  “จดบันทึก”  และการจดก็ต้องฟังแล้วจดในรูปแบบของภาษาที่เราเข้าใจด้วย  อย่าไปจดตามคำพูดเด็ดขาดเพราะปัญหาก็คือภาษาของการรับรู้ของเราแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน...
ข้อที่หก...  มีสมาธิในการฟังให้มาก  พยายามสบตากับผู้พูดเสมอเพื่อลดการเหม่อลอยของเราเอง  แน่นอนยิ่งฟังนาน ๆ  ทุกคนย่อมปล่อยอารมณ์ไปเรื่อย ๆ  จนบางครั้งเราคิดว่าตัวเองกำลังฟังอยู่อย่างตั้งใจแต่จริง ๆ  แล้วเรากลับให้ใจเราล่องลอยไปซะแล้ว
ข้อที่เจ็ด...  เวลาฟังควรฟังผู้พูดให้จบเสียก่อน  อย่าคิดล่วงหน้าผู้พูดอย่างเด็ดขาด  เพราะสิ่งนั้นถือว่าคุณด่วนที่จะสรุปความคิดตัวเอง  จนบางครั้งคุณก็หลงทางกับความคิดของตัวเอง  เมื่อมารู้ทีหลังว่าสิ่งที่คุณคิดกับสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมามันไม่ตรงกัน...
ข้อที่แปด...  ตั้งใจและจดจ่ออยู่ที่การฟัง  อย่าเขว  และควรทำให้การรับฟังของเราตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา...
ข้อที่เก้า...  ควบคุมอารมณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพปกติ  เพราะถ้าคุณควบคุมตัวเองไม่ได้คุณก็จะฟังไม่รู้เรื่องแน่...
ข้อที่สิบ...  เมื่อคุณกำลังฟัง  คุณก็ควรเปิดประตูใจรับฟังให้กว้าง ๆ  เข้าไว้  ยอมรับและตักตวงที่จะรับเอาข่าวสารหรือสิ่งใหม่ ๆ  ที่ได้รับจากการฟังเข้ามาให้เข้ามาให้มากที่สุด...
ข้อที่สิบเอ็ด...  หายใจให้ช้า ๆ  ลึก ๆ  เข้าไว้เพื่อให้สมองของเราผ่อยคลายตลอดเวลา  เราจะฟังได้ดีขึ้น...
ข้อที่สิบสอง...  เมื่อทำสองให้ผ่อนคลาย  ก็ต้องทำร่างกายของคุณให้ผ่อนคลายไปด้วย  พยายามทำตัวให้สบายให้มากที่สุด  อย่าไปเครียดกับการฟัง...
นี่แหละ...  การฟังที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ  ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนหละว่าจะทำได้ตามที่ว่าได้หรือไม่...

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทานเรื่อง พูดดีเป็นศรีแก่ตัว

พูดดีเป็นศรีแก่ตัว จำนว 10  หน้า
ผู้แต่ง :  นายวิทนา  ศรีอาราม
เรื่องย่อ : นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กสามคน   มีความประสงคือยากจะได้ดอกบัวเพื่อที่จะนำดอกบัวไปทำบุญที่วัด   เลยชวนกันไปเก็บดอกบัวแต่พอไปสระบัวก็มีชายคนหนึ่งเฝ้าสระบัวจึงขอดอกบัวแก่ชายคนนั้น  สองคนแรกพูดไม่เป็นที่ไม่เป็นที่พอใจ  จึงไม่ได้ดอกบัว  แต่คนสุดท้ายเป็นที่น่าพอใจชายคนนั้นจึงตัดสินใจเอาดอกบัวมันใหญ่ในสระให้แก่เขา

พูดดีเป็นศรีแก่ตัว































ดาวน์โหลดข้อมูลที่นี่ : http://www.mediafire.com/?xzq4fbzarroqyck

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การเล่านิทานสำหรับเด็ก


   นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป


ขอบคุณข้อมุลจากhttp://www.sk-hospital.com/~ob/parent_school/nitan.htm

เทคนิคการเรียนภาษาไทย


เทคนิคการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก
เรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก...
ฝึกคำกับสระ เมื่อเช้าเก็บมะเขือ ลงใส่เรือเตรียมไปขาย เรือนี้นั่งสบาย เรือเมื่อพายไปคล่องดี วันนี้ใส่เสื้อสวย แล้วรีบฉวยเสื่อม้วนนี้ ลงเรือในทันที ช่างโชคดีที่ลงเรือ                             
ภาษาไทยนอกจากเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต   แต่ปัจจุบันยังพบปัญหาเกี่ยวกับการอ่านการเขียนของเด็กระดับประถมศึกษา  คือ อ่านไม่คล่อง  เขียนไม่คล่อง   ที่ร้ายแรงกว่านั้นเด็กไม่สามารถอ่านออกเขียนได้   สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเด็กไม่สนุกต่อการเรียนรู้   มีความทุกข์เมื่อถึงเวลาเรียนเพราะรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นเรื่องที่ยากต่อการเรียน  ดังนั้น  จึงได้จัดทำเอกสารเรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก  ระดับประถมศึกษาขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกหลากหลายวิธี  แบบเล่นปนเรียน  ซึ่งเด็กระดับประถมศึกษายังชอบการเล่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้จังหวะ  เสียงเพลง เป็นส่วนหนึ่งที่เด็กจะเกิดความสุขในการเรียน  ผู้เรียบเรียงเอกสารได้นำมาใช้สอดแทรกในการฝึกอันจะทำให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ๆ
ความรู้จากการปฏิบัติงาน
           ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี  น่าเข้าใกล้นะคะ  สอนนักเรียนโดยนำตัวอย่างที่ใกล้ตัวเด็ก  เล่าเรื่องสนุก ๆให้ฟังบ้าง  ผ่อนคลายบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเอง  อย่าให้ดุหรือเข้มงวดเกินไป  เด็กจะเครียด  กลัว ทำให้เกลียดครู  เกลียดวิชานะคะ  เด็กทุกชั้นไม่ว่าเด็กเล็กหรือระดับโต ไม่ชอบฟังนาน ๆ  เราเองก็เหมือนกัน  ก็แทรกกิจกรรมในชั้น ให้เขามีส่วนร่วมบ้าง
ห้องก็จะบันเทิง  วิชาของเราก็จะน่าเรียนค่ะ   อย่าชิงโมโหเสียก่อน  เวลาเขากวน  อย่าลืมยิ้มกับเขาบ่อย ๆ
ที่สำคัญ ครูจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างกระจ่างแจ้ง สามารถตอบคำถามทุกคำถามแก่นักเรียนได้ เป็นผุ้รอบรู้ และรู้รอบ ซึ่งแสดงให้นักเรียนเห็นจนเกิดเป็นความศรัทธา เช่น เป็นคนตั้งใจจริง มีความสุข
ทุกครั้งที่อยู่ในห้องสอน เมื่อนั้น...สิ่งที่ครูอยากจะสอน แม้เรื่องจะยาก เรื่องอาจไม่สนุก นักเรียนก็จะใส่ใจ สนใจ เพราะเขาศรัทธา และเคารพความตั้งใจจริงในการสอนของครู ตัวครูก็ต้องเข้าใจที่จะสอดแทรกอารมณ์ขัน แม้จะเป็นเรื่องที่เป็นหลักการ


ขั้นตอนสอนภาษาไทยให้สนุก  
                บันได 8 ขั้น จะเริ่มจาก "การปลุกเร้ากระบวนการคิด" โดยใช้คำถามนำให้เด็กเกิดความสนใจ และ "ชี้ให้เห็นความสำคัญ" ของเนื้อหาที่จะเรียนว่าสำคัญต่อชีวิตอย่างไร เช่น การเรียนบทประพันธ์นั้น จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร และปล่อยให้เด็กๆ คิดตามถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และอยากที่จะเรียน   
"หลากหลายแบบฝึกหัด" เป็นภาคปฏิบัติที่จะให้เด็กเริ่มแต่งกลอนแปด และจะย้ำให้ได้ฝึกทักษะซ้ำๆ พร้อมกับเสริมแรงกระตุ้นด้วยการให้รางวัลต่างๆ ในการฝึกทักษะนี้ครูต้องพิจารณาให้งานตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน ถ้าคนไหนแต่งกลอนแปดไม่ได้ ให้แต่งกาพย์ยานี หรือกลอนสี่ จะคิดเสมอว่าอย่าบังคับให้เด็กต้องตามทันเพื่อนคนอื่น และอย่าคาดหวังว่าเด็กจะทำตามเป้าหมายเดียวกันได้ทุกคน ดังนั้นเป้าหมายจึงต้องเปลี่ยนไปตามความพร้อมและความสามารถของเด็กแต่ละคน
"ฉายความชำนาญ" เป็นการให้นักเรียนสร้างชิ้นงานที่ใหญ่ขึ้น เช่น แต่งบทประพันธ์ คำกลอนและรวบรวมให้เป็นหนังสือ นิทาน คำขวัญเมืองสุพรรณ โดยบูรณาการวิชาศิลปะ งานประดิษฐ์ให้ออกเป็นมาในรูปแฟ้มสะสมผลงานตามด้วย "นำเสนองานที่สร้างสรรค์" ให้เด็กๆ อธิบายกระบวนการจัดทำได้ออกมาเป็นผลงาน เมื่อเรียบร้อยจึงเข้าสู่”ขั้นตอนการประเมิน”ซึ่งต้องประเมินอย่างรอบด้าน ทั้งการประเมินตนเอง การประเมินจากกลุ่มเพื่อน และรับผลประเมินจากครู สุดท้ายก็รวบร่วมผลงานนักเรียนทุกคนออกแสดง ในรูปของนิทรรศการต่างๆ
“ระหว่างสอนควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ครูต้องทำตัวให้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ที่สำคัญไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคกับทุกคน สำหรับเทคนิคดีๆ ที่ใช้ได้ผล ว่า ครูจะไม่เอาบทเรียนเป็นตัวตั้งในการสอน แต่ใช้เด็กเป็นจุดศูนย์กลาง และดึงความรู้มาเกี่ยวพันกับชีวิตเด็กให้ได้ เคล็ดลับสำคัญคือ อย่าเอาการบ้านมาทำลายบรรยากาศในการเรียน และไม่จำเป็นต้องจ้ำจี้จ้ำไช ให้เด็กต้องส่งการบ้านทุกวัน เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนไม่อยากมาเรียน ทั้งนี้คิดเสมอว่า เราสอนคนไม่ใช่สอนความรู้ ถ้าครูมุ่งสอนแต่เนื้อหาเด็กอาจจะไม่อยากเรียนได้ ครูจึงควรรู้ว่าเจตนารมณ์และเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาคือการให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข

วิธีการสอนภาษาไทยอย่างไรไม่ให้เบื่อ 
ต้องถามตัวเองก่อนครับว่าเบื่อที่จะสอนหรือเปล่า  สอนด้วยใจหรือสอนตามหน้าที่
ถ้าสอนด้วยใจก็จะเข้าใจว่าควรทำอย่างไร   เด็กแต่ละรุ่นแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ดังนั้นวิธีการสอนที่เหมือนกันอาจทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งสนใจสนุกสนาน แต่เด็กอีกกลุ่มอาจเบื่อได้  การสอนที่ทำให้เด็กไม่เบื่อจึงไม่ใช่การสอนที่มีวิธีตายตัว  หากแต่อยู่ที่การปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเด็กที่สอน  มีกิจกรรมให้เด็กผ่อนคลายบ้างเป็นครั้งคราว
และเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆอย่างสมัครใจ  ไม่ใช่เป็นการบังคับด้วยการให้คะแนน
ควรเอาเกณฑ์การให้คะแนนเป็นตัวเสริม  อย่ามองที่ผลงานเกินไป แต่ให้มองที่วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลของเด็ก
และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็กมากกว่า  เพราะธรรมดาเด็กย่อมต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
ดังนั้นการให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือความสามารถที่ตนเองถนัด  โดยแฝงไว้ด้วยเนื้อหาทางวิชาการ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการสอนทีจะดึงความสนใจจากเด็กได้และจะทำให้การสอนน่าเบื่อน้อยลง
อีกประการที่สำคัญคือ หากผู้สอนเบื่อเสียเองและสอนแบบเสียไม่ได้  สอนโดยคิดว่าการสอนเป็นเพียงหน้าที่ที่ต้องทำ การสอนในชั่วโมงนั้นก็จะดูน่าเบื่อ


สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก  
   จากประสบการณ์การสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ  ระดับชั้นปวช.1   มาหลายปี  สังเกตพบว่านักเรียนส่วนมาก  จะให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขและไม่สนุกสนาน
ในการเรียนวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก  ครูผู้สอนก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องนักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยการทำรายงานและอีกหลากหลายวิธี ซึ่งครูผู้สอนขอใช้ชื่อเทคนิคการสอนนี้ว่า “เรียนปนเล่น”         ผลปรากฏว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี   
ครูหลายๆท่านอาจคิดว่าการเรียนการสอนแบบนี้น่าจะเหมาะกับนักเรียนชั้นประถมศึกษามากกว่าที่จะ
นำมาใช้กับนักเรียนระดับชั้นปวช. แต่เมื่อนำมาปรับใช้ก็ทำให้เห็นว่านักเรียนทุกคนชอบ สนุกสนานและกระตือรือร้นมาก  วันใดที่มีการจัดกิจกรรมแบบนี้วันนั้นจะเป็นวันที่ครูได้เห็นรอยยิ้มของนักเรียน  ครูจะพยายามให้นักเรียนทุกคนได้ทำกิจกรรม  เมื่อทุกคนได้ฝึกจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  ครูก็จะใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น
จะเห็นว่าการนำเทคนิคแบบ “เรียนปนเล่น”  มาใช้กับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยนักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนการสอนมาก  ครูผู้สอนเองก็มีความสุขไปด้วย  นอกจากนี้เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ละครั้งครูและเพื่อนต้องให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ทำกิจกรรมได้สำเร็จ  ถึงแม้จะไม่รวดเร็วก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  และที่สำคัญครูผู้สอนภาษาไทยจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดูดีกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบในสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอนหากคุณครูทุกคนสามารถทำได้การเรียนการสอนในวิชาต่างๆก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป                                                                                                  
                                                                                                        

สอนภาษาไทยอย่างไรจึงจะสนุก
ช่วยกันทำให้เด็กๆอยากเรียนภาษาไทยกันดีกว่า
ก่อนอื่นเริ่มจากตัวครูผู้สอนก่อนอันดับแรก แล้วตัวครูจะต้องทำอย่างไรบ้างนะเหรอคะ
1.  ยิ้มแย้ม แจ่มใสค่ะ แต่งตัวให้ดูดีเข้าไว้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และยังทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์ครูภาษาไทย ส่วนใหญ่จะสวมแว่นหนาเตอะ แต่งตัวเชย หน้าบึ้ง เนี๊ยบทุกอย่าง
2.  มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้กับตนเองเสมอ เป็นนักอ่านตัวยงเลยหล่ะคะ
3.  เป็นนักพูดที่มีเทคนิคการพูดที่น่าฟัง พูดเพราะ พูดเสริมแรง รู้จักการพูดให้กำลังใจ
4.  เป็นนักคิด คิดเสมอว่าทำยังไงเด็กๆจึงจะอ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยที่ตัวเด็กๆเองรู้สึกชอบและอยากทำเอง
5.  เป็นนักปั้นมือทอง ครูจะรู้อยู่แล้วว่าเด็กๆของตนเองเก่งด้านไหน เราก็ต้องช่วยส่งเสริมด้านนั้นให้มากที่สุด ส่วนด้านไหนที่ต้องการพัฒนา ก็ต้องช่วยเหลือให้ถึงที่สุดเช่นกัน
6.  เป็นพิธีกรจำเป็น จัดเวทีให้นักเรียนแสดงคิด ความความสามารถของตนเอง คอยชื่นชมให้กำลังใจและให้คำแนะนำดีๆ
                http://krunongkala.blogspot.com/2009/10/1_21.html

สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก
                ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขสนุกสนานในการเรียนวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก   ก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องประเทืองปัญญา   นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยใช้เพลง  การเรียนการสอนโครงงาน   ทำรายงานและอีกหลากหลาย   นักเรียนก็ให้ความร่วมมือบ้างแต่คิดว่ายังไม่เต็มที่  พบอีกวิธีการหนึ่งที่นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอย่างมีความสุขสนุกสนาน  เรื่องคำประสม  คำซ้อน  พยายามให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนครบทุกคน  เมื่อทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  จึงให้นักเรียนเล่นเกมต่อคำประสมและคำซ้อน  โดยต่อคำประสมก่อนจึงต่อคำซ้อนเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ  คือนักเรียนคนแรกเริ่มด้วยคำว่า  น้ำปลา   คนต่อไปต่อว่า  ชาร้อน   หมอนข้าง  ช่างไม้  ใจดี  ผีเรือน  เพื่อนตาย  ฯลฯ  เห็นว่านักเรียนเขามีความสุขสนุกสนานมาก  ครูผู้สอนก็มีความสุขไปด้วยครูและเพื่อนต้อให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ต่อคำได้อย่างว่องไว  ถึงแม้จะไม่ว่องไวก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  แต่ครูต้องคอยเป็นผู้ประสานและอีกสิ่งหนึ่งก็คือครูสอนภาษาไทยต้องมีบุคลิกกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้ สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอน        
                http://gotoknow.org/blog/process-thachai/62074

เทคนิคการสอนภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                เทคนิคหลากหลายลีลาภาษาไทย   เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ขั้นตอนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ปลุกใจให้เริงร่า   เป็นขั้นเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ในชั่วโมงนั้นๆ  ซึ่งการปลุกใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เช่น การนำเพลง  เกม นิทาน  มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้
2.  ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์  เป็นการนำเสนอเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้
3.  บูรณาการหลากหลาย   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกน แล้วดึงกลุ่มสาระอื่นๆเข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาที่เรียนรู้ในชั่วโมงนั้นๆ  เช่น ศิลปะ  คณิตศาสตร์ ฯลฯ 
4.  สรุปสิ่งที่ได้เป็นเกมต่างๆ   เป็นการนำเนื้อหาที่เรียนรู้ไปแล้วให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่ครูสอนไปแล้ว  โดยใช้เกมมาประกอบในการสรุปเนื้อหา เป็นการเล่นอย่างมีความรู้นั่นเอง
5.  เด็กสร้างชิ้นงานตามศักยภาพ   เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยทำในรูปหนังสือเล่มเล็ก  นิทานหน้าเดียว  หนังสือสามมิติ ฯลฯ
               ขอบคุรข้อมูลจากhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/432727

การเขียนเรียงความ


การเขียนเรียงความ


             เรียงความ คือการใช้ศิลปะทางการเขียนร้อยแก้วแสดงความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ

และความเข้าใจของผู้เขียนอย่างสละสลวย       เรียงความจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำนำ 

 เนื้อเรื่อง  และสรุป 

เรียงความที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

               มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

               มีสัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้า

จะต้องมีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

               มีสารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด

โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด



ขอเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวค่ะ

                ก่อนเขียนเรียงความนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ชื่อเรื่องที่เขาให้มานั้น หมายถึงอะไร

เกี่ยวโยงกับอะไร ข้อมูลที่จะเขียนลงไปนั้นต้องถูกต้องชัดเจน ดังนั้นผู้เขียนจะต้องรู้ชัดรู้จริง 


การเขียนคำนำ

         เป็นการเกริ่นเรื่อง ขอย้ำว่าแค่เกริ่นนะคะอย่าลึก ใช้คำโอบความหมายกว้างๆ เช่น

เรียงความเรื่องแม่ของฉัน      ควรกล่าวถึงแม่โดยทั่วไปก่อน เขียนให้กินใจ น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ยังไม่ควรเล่าว่า " แม่ของฉัน "เป็นอย่างไร



เนื้อเรื่อง


         เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญตามห้วข้อ ดังนั้นจะต้องเขียนให้ละเอียด

ครอบคลุม ชัดเจน   เช่น เรื่องแม่ของฉัน ในย่อหน้าเนื้อเรื่องให้พรรณนาถึงพระคุณแม่

( เขียนในด้านบวก )



สรุป


         กลับไปอ่านคำนำและเนื้อเรื่องและสรุปจบให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอแนะนำว่า ควรให้

ข้อแนะนำ หรือแนวคิดดีๆ แล้วลงท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจ


          การเขียนเรียงความนั้นอาจจะขึ้นต้นย่อหน้าคำนำ หรือปิดท้ายในหัวข้อสรุป ด้วย กลอน

คติพจน์ วาทะ หรือคำขวัญ     เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้น่าติดตาม ( ถ้ายืมคำใครเขามาอย่าลืมอ้างอิง

นะคะ )     ภายในเรียงความควรประกอบด้วยโวหารหลายๆชนิด เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่าน  ขั้นตอน

ในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้

เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๕ คือ

๑) บรรยายโวหาร

๒) พรรณนาโวหาร

๓) เทศนาโวหาร

๔) สาธกโวหาร

๕) อุปมาโวหาร   

              ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์

การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญ

ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะ

เหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจน


             ๒. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง

 ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึง

ยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ

และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไป

สำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ


                ๓. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

หรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร

จึงยากกว่าโวหารที่กล่าว



               ๔.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง

หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

 พรรณนาโวหาร

              ๕.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า

อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือ

เปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด 

               การเขียนเรียงความที่ดีนั้นควรตีกรอบความคิดของผู้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้

งานเขียนไม่วกวน จนผู้อ่านเกิดความสับสนทางความคิด   และที่สำคัญเรียงความจะต้องใช้ภาษา

อย่างเป็นทางการ  อย่าใช้ภาษาพูดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้งานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/readawrite/167-2008-09-07-05-00-43