วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาไทยกับความคิดสร้างสรรค์


ภาษาไทยกับความคิดสร้างสรรค์  

ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
1.      เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น..ความคิดสร้างสรรค์จะสูงขึ้น
2.      ระดับอนุบาลระดับความคิดสร้างสรรค์จะสูงขึ้น
3.      ระดับ ป. 1  ระดับความคิดสร้างสรรค์จะลดลง  และจะดีขึ้นในชั้นป.2  และพัฒนาไปจนถึงชั้น ป.4
4.      ชั้น ป. 5- 6  ระดับความคิดสร้างสรรค์คงที่
5.      ชั้น ม.1  ระดับความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาขึ้น  จะลดระดับลงในชั้น ม.3
6.      ชั้น ม.4 ระดับความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
7.      ชั้น ม.4 – 6 ต้องการใช้จินตนาการเต็มที่ จะมีจินตนาการของตนเองในด้านบวก  มีความทะเยอทะยาน  มีอารมณ์มั่นคงพอที่จะกำหนดทัศนคติของตน


ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.      อยากรู้ อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ
2.      ชอบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
3.      ชอบซักถาม  และมีคำถามแปลก ๆ
4.      ช่างสงสัย  รู้สึกแปลกประหลาดในสิ่งที่พบเห็นเสมอ
5.      ช่างสังเกตมองเห็นลักษณะที่แปลก ผิดปกติ  หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและเร็ว
6.      ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด  สงสัยสิ่งใดจะถามหรือเสาะแสวงหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7.      มีอารมณ์ขัน  มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก และสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8.      มีสมาธิดีในสิ่งที่สนใจ
9.      สนุกสนานกับการใช้ความคิด
10.    สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
11.    มีความคิดเป็นของตัวเอง
 

คุณสมบัติของครูที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.         ไม่พอใจในวิธีสอนธรรมดา  หรือ ซ้ำๆ
2.         เป็นแหล่งเรียนรู้และความรอบรู้ มีจิตใจกว้าง ไม่ขลาดกลัวที่จะเผชิญ และยอมรับความจริง
3.         มีความสนใจนักเรียนอย่างจริงจัง ชอบสอนและทำงานร่วมกับเด็ก
4.         มีความสนใจในความรู้รอบด้าน ไม่ชอบทำอะไรซ้ำๆ
5.         อารมณ์ขัน
6.         สุขภาพอนามัยดี  ทั้งกายและใจ
7.         รสนิยมดี  แต่งกายประณีต  สวยงามเหมาะสมกับวัยและเหมาะสมกับโอกาส  สถานที่  มีบุคลิกภาพที่ดี มารยาทดี มีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดีทั้งการพูดและการเขียน  พูดจาชัดเจน คล่องแคล่ว  เข้าใจธรรมชาติ
             ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สามารถฝึกได้   แต่ต้องใจเย็น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/171522

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น