วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเรียนภาษาไทย


เทคนิคการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก
เรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก...
ฝึกคำกับสระ เมื่อเช้าเก็บมะเขือ ลงใส่เรือเตรียมไปขาย เรือนี้นั่งสบาย เรือเมื่อพายไปคล่องดี วันนี้ใส่เสื้อสวย แล้วรีบฉวยเสื่อม้วนนี้ ลงเรือในทันที ช่างโชคดีที่ลงเรือ                             
ภาษาไทยนอกจากเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติแล้วยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต   แต่ปัจจุบันยังพบปัญหาเกี่ยวกับการอ่านการเขียนของเด็กระดับประถมศึกษา  คือ อ่านไม่คล่อง  เขียนไม่คล่อง   ที่ร้ายแรงกว่านั้นเด็กไม่สามารถอ่านออกเขียนได้   สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเด็กไม่สนุกต่อการเรียนรู้   มีความทุกข์เมื่อถึงเวลาเรียนเพราะรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นเรื่องที่ยากต่อการเรียน  ดังนั้น  จึงได้จัดทำเอกสารเรียนรู้ภาษาไทยให้สนุก  ระดับประถมศึกษาขึ้น  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกหลากหลายวิธี  แบบเล่นปนเรียน  ซึ่งเด็กระดับประถมศึกษายังชอบการเล่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้จังหวะ  เสียงเพลง เป็นส่วนหนึ่งที่เด็กจะเกิดความสุขในการเรียน  ผู้เรียบเรียงเอกสารได้นำมาใช้สอดแทรกในการฝึกอันจะทำให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอนวิชาภาษาไทยให้สนุก ๆ
ความรู้จากการปฏิบัติงาน
           ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิก ให้สดชื่น รื่นเริง อารมณ์ดี  น่าเข้าใกล้นะคะ  สอนนักเรียนโดยนำตัวอย่างที่ใกล้ตัวเด็ก  เล่าเรื่องสนุก ๆให้ฟังบ้าง  ผ่อนคลายบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเอง  อย่าให้ดุหรือเข้มงวดเกินไป  เด็กจะเครียด  กลัว ทำให้เกลียดครู  เกลียดวิชานะคะ  เด็กทุกชั้นไม่ว่าเด็กเล็กหรือระดับโต ไม่ชอบฟังนาน ๆ  เราเองก็เหมือนกัน  ก็แทรกกิจกรรมในชั้น ให้เขามีส่วนร่วมบ้าง
ห้องก็จะบันเทิง  วิชาของเราก็จะน่าเรียนค่ะ   อย่าชิงโมโหเสียก่อน  เวลาเขากวน  อย่าลืมยิ้มกับเขาบ่อย ๆ
ที่สำคัญ ครูจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างกระจ่างแจ้ง สามารถตอบคำถามทุกคำถามแก่นักเรียนได้ เป็นผุ้รอบรู้ และรู้รอบ ซึ่งแสดงให้นักเรียนเห็นจนเกิดเป็นความศรัทธา เช่น เป็นคนตั้งใจจริง มีความสุข
ทุกครั้งที่อยู่ในห้องสอน เมื่อนั้น...สิ่งที่ครูอยากจะสอน แม้เรื่องจะยาก เรื่องอาจไม่สนุก นักเรียนก็จะใส่ใจ สนใจ เพราะเขาศรัทธา และเคารพความตั้งใจจริงในการสอนของครู ตัวครูก็ต้องเข้าใจที่จะสอดแทรกอารมณ์ขัน แม้จะเป็นเรื่องที่เป็นหลักการ


ขั้นตอนสอนภาษาไทยให้สนุก  
                บันได 8 ขั้น จะเริ่มจาก "การปลุกเร้ากระบวนการคิด" โดยใช้คำถามนำให้เด็กเกิดความสนใจ และ "ชี้ให้เห็นความสำคัญ" ของเนื้อหาที่จะเรียนว่าสำคัญต่อชีวิตอย่างไร เช่น การเรียนบทประพันธ์นั้น จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร และปล่อยให้เด็กๆ คิดตามถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และอยากที่จะเรียน   
"หลากหลายแบบฝึกหัด" เป็นภาคปฏิบัติที่จะให้เด็กเริ่มแต่งกลอนแปด และจะย้ำให้ได้ฝึกทักษะซ้ำๆ พร้อมกับเสริมแรงกระตุ้นด้วยการให้รางวัลต่างๆ ในการฝึกทักษะนี้ครูต้องพิจารณาให้งานตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน ถ้าคนไหนแต่งกลอนแปดไม่ได้ ให้แต่งกาพย์ยานี หรือกลอนสี่ จะคิดเสมอว่าอย่าบังคับให้เด็กต้องตามทันเพื่อนคนอื่น และอย่าคาดหวังว่าเด็กจะทำตามเป้าหมายเดียวกันได้ทุกคน ดังนั้นเป้าหมายจึงต้องเปลี่ยนไปตามความพร้อมและความสามารถของเด็กแต่ละคน
"ฉายความชำนาญ" เป็นการให้นักเรียนสร้างชิ้นงานที่ใหญ่ขึ้น เช่น แต่งบทประพันธ์ คำกลอนและรวบรวมให้เป็นหนังสือ นิทาน คำขวัญเมืองสุพรรณ โดยบูรณาการวิชาศิลปะ งานประดิษฐ์ให้ออกเป็นมาในรูปแฟ้มสะสมผลงานตามด้วย "นำเสนองานที่สร้างสรรค์" ให้เด็กๆ อธิบายกระบวนการจัดทำได้ออกมาเป็นผลงาน เมื่อเรียบร้อยจึงเข้าสู่”ขั้นตอนการประเมิน”ซึ่งต้องประเมินอย่างรอบด้าน ทั้งการประเมินตนเอง การประเมินจากกลุ่มเพื่อน และรับผลประเมินจากครู สุดท้ายก็รวบร่วมผลงานนักเรียนทุกคนออกแสดง ในรูปของนิทรรศการต่างๆ
“ระหว่างสอนควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ครูต้องทำตัวให้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ที่สำคัญไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคกับทุกคน สำหรับเทคนิคดีๆ ที่ใช้ได้ผล ว่า ครูจะไม่เอาบทเรียนเป็นตัวตั้งในการสอน แต่ใช้เด็กเป็นจุดศูนย์กลาง และดึงความรู้มาเกี่ยวพันกับชีวิตเด็กให้ได้ เคล็ดลับสำคัญคือ อย่าเอาการบ้านมาทำลายบรรยากาศในการเรียน และไม่จำเป็นต้องจ้ำจี้จ้ำไช ให้เด็กต้องส่งการบ้านทุกวัน เพราะจะทำให้เด็กเครียดจนไม่อยากมาเรียน ทั้งนี้คิดเสมอว่า เราสอนคนไม่ใช่สอนความรู้ ถ้าครูมุ่งสอนแต่เนื้อหาเด็กอาจจะไม่อยากเรียนได้ ครูจึงควรรู้ว่าเจตนารมณ์และเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาคือการให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข

วิธีการสอนภาษาไทยอย่างไรไม่ให้เบื่อ 
ต้องถามตัวเองก่อนครับว่าเบื่อที่จะสอนหรือเปล่า  สอนด้วยใจหรือสอนตามหน้าที่
ถ้าสอนด้วยใจก็จะเข้าใจว่าควรทำอย่างไร   เด็กแต่ละรุ่นแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ดังนั้นวิธีการสอนที่เหมือนกันอาจทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งสนใจสนุกสนาน แต่เด็กอีกกลุ่มอาจเบื่อได้  การสอนที่ทำให้เด็กไม่เบื่อจึงไม่ใช่การสอนที่มีวิธีตายตัว  หากแต่อยู่ที่การปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเด็กที่สอน  มีกิจกรรมให้เด็กผ่อนคลายบ้างเป็นครั้งคราว
และเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆอย่างสมัครใจ  ไม่ใช่เป็นการบังคับด้วยการให้คะแนน
ควรเอาเกณฑ์การให้คะแนนเป็นตัวเสริม  อย่ามองที่ผลงานเกินไป แต่ให้มองที่วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลของเด็ก
และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็กมากกว่า  เพราะธรรมดาเด็กย่อมต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
ดังนั้นการให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือความสามารถที่ตนเองถนัด  โดยแฝงไว้ด้วยเนื้อหาทางวิชาการ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการสอนทีจะดึงความสนใจจากเด็กได้และจะทำให้การสอนน่าเบื่อน้อยลง
อีกประการที่สำคัญคือ หากผู้สอนเบื่อเสียเองและสอนแบบเสียไม่ได้  สอนโดยคิดว่าการสอนเป็นเพียงหน้าที่ที่ต้องทำ การสอนในชั่วโมงนั้นก็จะดูน่าเบื่อ


สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก  
   จากประสบการณ์การสอนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ  ระดับชั้นปวช.1   มาหลายปี  สังเกตพบว่านักเรียนส่วนมาก  จะให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขและไม่สนุกสนาน
ในการเรียนวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก  ครูผู้สอนก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องนักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยการทำรายงานและอีกหลากหลายวิธี ซึ่งครูผู้สอนขอใช้ชื่อเทคนิคการสอนนี้ว่า “เรียนปนเล่น”         ผลปรากฏว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี   
ครูหลายๆท่านอาจคิดว่าการเรียนการสอนแบบนี้น่าจะเหมาะกับนักเรียนชั้นประถมศึกษามากกว่าที่จะ
นำมาใช้กับนักเรียนระดับชั้นปวช. แต่เมื่อนำมาปรับใช้ก็ทำให้เห็นว่านักเรียนทุกคนชอบ สนุกสนานและกระตือรือร้นมาก  วันใดที่มีการจัดกิจกรรมแบบนี้วันนั้นจะเป็นวันที่ครูได้เห็นรอยยิ้มของนักเรียน  ครูจะพยายามให้นักเรียนทุกคนได้ทำกิจกรรม  เมื่อทุกคนได้ฝึกจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  ครูก็จะใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น
จะเห็นว่าการนำเทคนิคแบบ “เรียนปนเล่น”  มาใช้กับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยนักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนการสอนมาก  ครูผู้สอนเองก็มีความสุขไปด้วย  นอกจากนี้เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ละครั้งครูและเพื่อนต้องให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ทำกิจกรรมได้สำเร็จ  ถึงแม้จะไม่รวดเร็วก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  และที่สำคัญครูผู้สอนภาษาไทยจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดูดีกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบในสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอนหากคุณครูทุกคนสามารถทำได้การเรียนการสอนในวิชาต่างๆก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป                                                                                                  
                                                                                                        

สอนภาษาไทยอย่างไรจึงจะสนุก
ช่วยกันทำให้เด็กๆอยากเรียนภาษาไทยกันดีกว่า
ก่อนอื่นเริ่มจากตัวครูผู้สอนก่อนอันดับแรก แล้วตัวครูจะต้องทำอย่างไรบ้างนะเหรอคะ
1.  ยิ้มแย้ม แจ่มใสค่ะ แต่งตัวให้ดูดีเข้าไว้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และยังทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์ครูภาษาไทย ส่วนใหญ่จะสวมแว่นหนาเตอะ แต่งตัวเชย หน้าบึ้ง เนี๊ยบทุกอย่าง
2.  มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้กับตนเองเสมอ เป็นนักอ่านตัวยงเลยหล่ะคะ
3.  เป็นนักพูดที่มีเทคนิคการพูดที่น่าฟัง พูดเพราะ พูดเสริมแรง รู้จักการพูดให้กำลังใจ
4.  เป็นนักคิด คิดเสมอว่าทำยังไงเด็กๆจึงจะอ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยที่ตัวเด็กๆเองรู้สึกชอบและอยากทำเอง
5.  เป็นนักปั้นมือทอง ครูจะรู้อยู่แล้วว่าเด็กๆของตนเองเก่งด้านไหน เราก็ต้องช่วยส่งเสริมด้านนั้นให้มากที่สุด ส่วนด้านไหนที่ต้องการพัฒนา ก็ต้องช่วยเหลือให้ถึงที่สุดเช่นกัน
6.  เป็นพิธีกรจำเป็น จัดเวทีให้นักเรียนแสดงคิด ความความสามารถของตนเอง คอยชื่นชมให้กำลังใจและให้คำแนะนำดีๆ
                http://krunongkala.blogspot.com/2009/10/1_21.html

สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก
                ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเบื่อหน่ายไม่มีความสุขสนุกสนานในการเรียนวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นอย่างนี้มานานมาก   ก็พยายามหาวิธีการสอน  เทคนิคการสอนและกระบวนการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย   ไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการเล่าเรื่องประเทืองปัญญา   นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ  ทำงานเป็นกลุ่ม   ศึกษาค้นคว้า   สอนโดยใช้เพลง  การเรียนการสอนโครงงาน   ทำรายงานและอีกหลากหลาย   นักเรียนก็ให้ความร่วมมือบ้างแต่คิดว่ายังไม่เต็มที่  พบอีกวิธีการหนึ่งที่นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอย่างมีความสุขสนุกสนาน  เรื่องคำประสม  คำซ้อน  พยายามให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนครบทุกคน  เมื่อทุกคนได้ฝึกสร้างคำจนมีความรู้  ความเข้าใจดีแล้ว  จึงให้นักเรียนเล่นเกมต่อคำประสมและคำซ้อน  โดยต่อคำประสมก่อนจึงต่อคำซ้อนเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ  คือนักเรียนคนแรกเริ่มด้วยคำว่า  น้ำปลา   คนต่อไปต่อว่า  ชาร้อน   หมอนข้าง  ช่างไม้  ใจดี  ผีเรือน  เพื่อนตาย  ฯลฯ  เห็นว่านักเรียนเขามีความสุขสนุกสนานมาก  ครูผู้สอนก็มีความสุขไปด้วยครูและเพื่อนต้อให้ขวัญกำลังใจโดยการปรบมือให้ผู้ที่ต่อคำได้อย่างว่องไว  ถึงแม้จะไม่ว่องไวก็ต้องปรบมือให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ  แต่ครูต้องคอยเป็นผู้ประสานและอีกสิ่งหนึ่งก็คือครูสอนภาษาไทยต้องมีบุคลิกกระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบสิ่งที่ตนเองพูด  เล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้ สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอน        
                http://gotoknow.org/blog/process-thachai/62074

เทคนิคการสอนภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                เทคนิคหลากหลายลีลาภาษาไทย   เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ขั้นตอนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1. ปลุกใจให้เริงร่า   เป็นขั้นเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ในชั่วโมงนั้นๆ  ซึ่งการปลุกใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เช่น การนำเพลง  เกม นิทาน  มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้
2.  ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์  เป็นการนำเสนอเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้
3.  บูรณาการหลากหลาย   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกน แล้วดึงกลุ่มสาระอื่นๆเข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาที่เรียนรู้ในชั่วโมงนั้นๆ  เช่น ศิลปะ  คณิตศาสตร์ ฯลฯ 
4.  สรุปสิ่งที่ได้เป็นเกมต่างๆ   เป็นการนำเนื้อหาที่เรียนรู้ไปแล้วให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่ครูสอนไปแล้ว  โดยใช้เกมมาประกอบในการสรุปเนื้อหา เป็นการเล่นอย่างมีความรู้นั่นเอง
5.  เด็กสร้างชิ้นงานตามศักยภาพ   เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยทำในรูปหนังสือเล่มเล็ก  นิทานหน้าเดียว  หนังสือสามมิติ ฯลฯ
               ขอบคุรข้อมูลจากhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/432727

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น